
ภาวะ “เปลือกตาหย่อน” อันตรายหรือไม่ แก้ไขได้อย่างไร
นอกจากเปลือกตาหย่อนจะทำให้ดูมีอายุแล้ว ยังอันตรายเพราะบดบังทัศนวิสัยด้วย จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไรบ้าง สาเหตุของการเกิด “เปลือกตาหย่อน”
อ. พญ. พิมพ์ขวัญ จารุอำพรพรรณ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ภาวะเปลือกตาหย่อน หรือหนังตาหย่อน (dermatochalasis) เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยคือ เกิดในผู้สูงอายุ เนื่องจากหนังตามีความยืดหยุ่นมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ทำให้สามารถหย่อนคล้อยลงมาได้
แต่ว่าในกรณีที่เป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุ มักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือชาติพันธุ์ เช่น ในคนเอเชียที่มีตาชั้นเดียว และมีการสะสมของไขมันใต้ชั้นหนังตามาก ทำให้ชั้นหนังตาห้อยลงมาต่ำกว่าระดับขนตา และโดยเฉพาะในผู้สูงอายุอาจพบภาวะเปลือกตาตก (blepharoptosis) และคิ้วตก (brow ptosis) ร่วมด้วยได้ ซึ่งต้องแยกสาเหตุเพราะวิธีการรักษาแตกต่างกัน
อันตรายของ “เปลือกตาหย่อน”
นอกจากจะเป็นเรื่องความไม่สวยงามแล้ว การที่เปลือกตาหย่อนคล้อยจนลงมาปิดจนเหมือนหรี่ตาอยู่ตลอดเวลา ทำให้การทัศนวิสัยในการมองเห็นของลดลงด้วย เป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิต หรือทำงานที่ต้องใช้สายตาเป็นสำคัญ เช่น ขับรถ เย็บผ้า ทำงานกับเครื่องจักร และอื่นๆ ข่าวสุขภาพอัพเดต>>> 6 สาเหตุ “กลิ่นปาก” ที่คุณอาจไม่เคยรู้ และวิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเอง